วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Handheld อัพเกรดแท็บเล็ตพันธุ์แกร่ง Algiz 10X เป็น Windows 8.1 Pro ใหม่

Handheld Group ผู้นำด้านการผลิตคอมพิวเตอร์พกพาสุดทนทาน ประกาศอัพเกรด Algiz 10X แท็บเล็ตพันธุ์อึดหน้าจอใหญ่ 10 นิ้วสำหรับบุคลากรภาคสนาม เป็นระบบปฏิบัติการ Windows 8 ใหม่ และใช้หน่วยประมวลผลที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น ช่วยให้เปิดเครื่องและทำงานได้เร็วขึ้นซอฟต์แวร์มีความเสถียรมากขึ้น และหน่วยประมวลผลมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2 เท่า

Handheld Group ALGIZ 10X Outdoor-Rugged Tablet

Algiz 10X ได้คะแนน IP65 จากการประเมิณคุณสมบัติด้านการป้องกันสิ่งแปลกปลอมภายนอก นอกจากนั้นยังผ่านการทดสอบมาตรฐานทางการทหาร MIL-STD-810G ด้านการป้องกันฝุ่น น้ำ การสั่นสะเทือน การตกหล่น รวมถึงอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำสุดขีด แท็บเล็ตสุดแกร่งตัวนี้มีหน้าจอทัชสกรีนใหญ่ 10.1 นิ้วมองเห็นชัดเจน แต่น้ำหนักเบาเพียง 1.3 กิโลกรัม (2.9 ปอนด์) และบางแค่ 32 มิลลิเมตร (1.2 นิ้ว) เท่านั้น
แฮนด์เฮลด์ประกาศอัพเกรด Algiz 10X เป็นระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 Pro ใหม่ (สามารถดาวน์เกรดเป็น Windows 7 ได้ตามต้องการ) ซึ่งมีฟีเจอร์ที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้าใช้คอมพิวเตอร์จากอีกเครื่อง เข้ารหัสข้อมูลและอื่นๆได้อย่างง่ายดาย
“ระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุดจากไมโครซอฟท์ช่วยให้ลูกค้าเปิดเครื่องและใช้งานได้เร็วขึ้น ซอฟต์แวร์เสถียรมากขึ้น รองรับการใช้งานทัชสกรีนได้ดีขึ้น และมีข้อดีอื่นๆอีกมากมาย” คุณโจฮัน เฮ็ด ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ของแฮนด์เฮลด์ กล่าว
Algiz 10X ใหม่ยังมาพร้อมกับโปรเซสเซอร์ Intel quad-core N2930 1.83 GHz อันทรงพลัง ที่สามารถเพิ่มเป็น 2.16 GHz ได้ โปรเซสเซอร์นี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดความร้อนของเครื่อง และเมื่อเทียบกับโปรเซสเซอร์รุ่นก่อนของ Algiz 10X แล้ว โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้มีมาตรฐานประสิทธิภาพการทำงาน การรองรับแรม จำนวนคอร์ และประสิทธิภาพการทำงานต่อวัตต์เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า
“Algiz 10X มีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยที่ไม่สูญเสียเวลาทำงานหรือการออกแบบเชิงกล” คุณเฮ็ดกล่าว “เราได้ปรับปรุงฟีเจอร์การสื่อสารไร้สายให้ดียิ่งขึ้น โดยนอกจากจะรองรับมาตรฐานไร้สาย 802.11 b/g/n บนความถี่ 2.4 GHz แล้ว ยังรองรับมาตรฐาน 802.11ac และ 802.11a บนความถี่ 5 GHz ด้วย ขณะเดียวกันก็รองรับ LTE ซึ่งช่วยให้การส่งผ่านข้อมูลเร็วขึ้นทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ รวมทั้งเพิ่มความครอบคลุมของเครือข่ายด้วย”
ฟีเจอร์ที่สำคัญของ Algiz 10X
– โปรเซสเซอร์ Intel quad-core N2930 1.83 GHz อันทรงพลัง
– SSD ความจุ 128 GB สามารถเพิ่มขนาดโดยใช้ microSD
– DDR3 RAM ขนาด 4 GB
– ระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 Industry Pro (สามารถดาวน์เกรดเป็น Windows 7 ได้)
– หน้าจอทัชสกรีนใหญ่ 10.1 นิ้ว และใช้เทคโนโลยีจอภาพ MaxView ที่ให้ความสว่างสูง
– ได้คะแนน IP65 จากการประเมิณคุณสมบัติด้านการป้องกันสิ่งแปลกปลอมภายนอก และผ่านการทดสอบมาตรฐานทางการทหาร MIL-STD-810G อันเข้มงวด
– รองรับ LTE พร้อมโมเด็มและเสาอากาศในตัว
– เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส u-blox(R) และรองรับ WAAS/EGNOS/MSAS
– เสาอากาศเชื่อมต่อสำหรับทั้ง GSM และ GPS
– ช่องทางการเชื่อมต่อที่หลากหลาย ทั้ง WLAN และ BT, USB 2.0 และ USB 3.0, VGA และพอร์ต RS232
เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์พีดีเอ สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์พกพาสุดแกร่งรุ่นอื่นๆของแฮนด์เฮลด์ Algiz 10X ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษเพื่อคนทำงานภาคสนามในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ภูมิสารสนเทศ โลจิสติกส์ การทำป่าไม้ ขนส่งมวลชน สาธารณูปโภค การก่อสร้าง การซ่อมบำรุง การทำเหมืองแร่ การทหาร และการรักษาความปลอดภัย
Algiz 10X รุ่นอัพเกรดมีวางจำหน่ายแล้วและสามารถสั่งซื้อได้ทันที

ข่าวสังคม ยกย่องผู้สร้างผลงานดีเด่น เป็นประโยชน์ต่อชาติ

 ข่าวสังคม 


         ยกย่องผู้สร้างผลงานดีเด่น เป็นประโยชน์ต่อชาติ        
                เพื่อส่งเสริมและเป็นกำลังใจแก่บุคคลต้นแบบที่มีความโดดเด่นในการงานอันเป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ และ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงมอบรางวัล“โครงการดีเด่นของชาติ” เพื่อประกาศเกียรติคุณยกย่องบุคคลและหน่วยงานในภาครัฐ ที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์แก่ประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งงานมอบรางวัลครั้งที่ 24 ประจำปี 2556 ได้จัดขึ้นที่อาคารถกลพระเกียรติ สวนหลวง ร.9 เมื่อเร็วๆนี้

               การมอบรางวัลในปีนี้มี 5 สาขา แยกเป็นบุคคล 5 ราย อาทิ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ศ.นพ.พิภพ จิรภิญโญ ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของผลงานการวิจัยนมทารกแพ้โปรตีนจากนมวัว จนค้นพบนมทารกจากเนื้อไก่ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร ซึ่ง คุณหมอพิภพ กล่าวว่า ปัญหาโรคแพ้โปรตีนนมวัวในเด็กมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นปัญหาของทุกประเทศ ตนและทีมงานได้ใช้เวลาในการทำวิจัยนานกว่า 10 ปี จนประสบความสำเร็จในการผลิตนมที่ช่วยรักษาเด็กที่แพ้นมโปรตีนย่อยละเอียด ปัจจุบันนมเนื้อไก่ได้รับการจดสิทธิบัตรให้เป็นนมชนิดพิเศษที่ผลิตขึ้นเองในประเทศไทยในราคาที่เหมาะสมหาซื้อได้สะดวก พร้อมทั้งเผยถึงความภูมิใจที่ได้รับรางวัลครั้งนี้ว่า ด้วยความเป็นหมอ หากเราสามารถที่จะรักษาคนไข้ให้หายได้ ก็จะสร้างความภาคภูมิใจให้แก่เราในทุกครั้ง และยิ่งสำหรับคนไข้ที่เขาหวังพึ่งเราเป็นโอกาสสุดท้าย การที่เราสามารถรักษาเขาได้สำเร็จ นั่นคือความสุขใจอย่างยิ่ง เป้าหมายเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญในการทำงานของตน

                                                 

                       อีกหนึ่งบุคคลที่ได้รับรางวัลสาขาพัฒนาเศรษฐกิจ ประเภทบุคคล คือ แสงเดือน จันทร์เดือน ผู้ก่อตั้งกลุ่มทอผ้าบ้านนาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์งานหัตถศิลป์ไทยให้คงอยู่ ได้เผยว่า เรามีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้การทอผ้าไหมเป็นอาชีพเสริมให้กับชุมชน ซึ่งเราเรียนรู้ความผิดพลาดจนได้มาบริหารจัดการครั้งใหม่ในปี 2548 เปลี่ยนเข้ามาสู่ระบบคล้ายบริษัท มีรูปแบบการทำงานเชิงธุรกิจมากขึ้น แต่ก็ไม่ทิ้งความตั้งใจที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน ด้วยการจัดให้มีร้าน “ผ้าตุ้มทอง” เพื่อจำหน่ายผ้าไหม และขณะเดียวกันก็ตั้งกลุ่ม “ช่างทอผ้าบ้านนาโพธิ์” เพื่อเป็นผู้ผลิต และยังช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม มีกลุ่มช่างทอที่เป็นผู้พิการและผู้ติดเชื้อ HIV ด้วย ตอนแรกมีสมาชิกเพียง 16 คน จนปัจจุบันมีสมาชิก 900 คน ครอบคลุมได้ 17 หมู่บ้านแล้ว สามารถสร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนได้ปีละหลายสิบล้านบาท.

                            

                            


วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา

โรงเรียนมวกเหล็กวิทย

ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนมวกเหล็กวิทยา
                 โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี สระบุรี) ได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาให้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพ ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันมีนายมาโนช รวยลาภ

ประวัติ


ภาพถ่ายหน้าอาคาร 1 ในอดีตที่โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา

การทำบุญคณะคุณครูและนักเรียนของโรงเรียนมวกเหล็กวิทยาในอดีต
ในระยะแรกอาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนวัดมวกเหล็กนอก (ราษฎร์พัฒนา) มีนักเรียน 46 คน และครู 6 คน มีนายทวี จันทวร เป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ต่อมาได้ย้ายมาตังในที่ดินราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) มีเนื้อที่ 41 ไร่ 0 งาน 13 ตารางวา มีอาคารเรียน 1 หลังเป็นแบบ 216 ล ซึ่งเป็น อาคาร 1 ในปัจจุบัน ปีการศึกษา 2521 มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ และจำนวนนักเรียนชั้น ม.1 เพิ่มมากขึ้น จึงได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง [1]
ปีการศึกษา 2522 ได้รับงบประมาณสร้างหอประชุม 1 หลังอาคารโรงฝึกงาน 3 หลัง จำนวน 6 หน่วยอาคารพยาบาลและสหกรณ์จำนวน 1 หลัง
ปีการศึกษา 2527 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีแผนการเรียน 2 แผนการเรียน ได้แก่ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และแผนการเรียนเกษตรกรรม
ปีการศุกษา 2528 ได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ราชพัสดุในการดูแลขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อสค)เพื่อสร้างสนามกีฬา จำนวน 7 ไร่ 0 งาน 05 ตารางวา
ปีการศึกษา 2531 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการนำร่อง "การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2524 เพื่อประกอบอาชีพอิสระ"ของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนจึงได้เปิดผนการเรียนอาชีพอิสระเพิ่มขึ้นอีก 1 แผนการเรียน และในปีนี้โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตรประจำปีการศึกษา 2532 โรงเรียนได้จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็น 6-5-5 และในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็น 3-2-2 รวมจำนวนห้องเรียน 23 ห้อง
ปีการศึกษา 2533 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาหลักสูตร มีนักเรียน 802 คน ครู-อาจารย์ 47 คน จำนวนห้องเรียน 23 ห้อง นักการภารโรง 5 คน และพนักงานขับรถ 1 คน
ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ"หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน"
ปีการศึกษา 2555 มีที่ดิน 48 ไร่ 0 งาน 18 ตารางวา มีครู-อาจารย์ 68 คน ครูอัตราจ้าง 8 คน พนักงานราชการ 2 คน มีจำนวนนักเรียน 1,600 มีนักการภารโรง 3 คน พนักงานขับรถ 1 คน
ปีการศึกษา 2556 ปัจจุบันมีที่ดิน 48 ไร่ 0 งาน 18 ตารางวา มีครู-อาจารย์ 63 คน ครูอัตราจ้าง 12 คน พนักงานราชการ 2 คน มีจำนวนนักเรียน 1,589 มีนักการภารโรง 3 คน พนักงานขับรถ 1 คน


สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน


  • ปรัชญาโรงเรียน : สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา บูชาคุณธรรม นำชุมชน
  • สีประจำโรงเรียน : สีเลือดหมู และ สีเหลือง
  • ตราประจำโรงเรียน : ตราประจำโรงเรียนมีสัญลักษณ์และความหมาย ดังนี้
    • ดวงเทียน : ครูผู้ให้ความรู้แก่นักเรียน
    • รัศมี : แสงสว่างนำทางนักเรียนและชุมชน
    • ธมฺมจารี สุขํ เสติ : ความหมาย ผู้ประพฤติธรรมย่อมเป็นสุข
    • ภูเขา ท้องฟ้า เมฆ : ธรรมชาติที่รอบล้อมโรงเรียน
    • ต้นกล้า : นักเรียนทุกคนที่กำลังเติบโตเป็นอนาคตของชาติ
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ต้นประดู่แดง
  • เพลงประจำโรงเรียน : มาร์ชม.ว.

โรงเรียนที่ชื่นชอบ โรงเรียนเทพศิรินทร์

โรงเรียนเทพศิรินทร์
ตราประจำโรงเรียน เทพศิรินทร์
โรงเรียนเทพศิรินทร์ (อังกฤษDebsirin School, ย่อ: ท.ศ., DS) เป็นโรงเรียนรัฐบาลชายล้วนขนาดใหญ่ในเครือจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ตั้งอยู่ เลขที่ 1466 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนเทพศิรินทร์ อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนประจำ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร ก่อตั้งขึ้นใน 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ปัจจุบันโรงเรียนเทพศิรินทร์มีอายุ 129 ปี เป็นโรงเรียนรัฐบาลที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศ เป็นโรงเรียนชายล้วนที่เก่าแก่อันดับ 5 ของประเทศ นอกจากนี้โรงเรียนเทพศิรินทร์ยังประกอบด้วย โรงเรียนเครือข่ายที่มีคำนำหน้าว่า "เทพศิรินทร์" อีก 9 แห่ง
โรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเข้ารับการศึกษา คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลรัชกาลที่ 8 นอกจากนี้ยังมีนักเรียนเก่าที่ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองมากมาย อาทิ นายกรัฐมนตรีไทย 4 คน รวมถึง นายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนแรก

ประวัติโรงเรียน[แก้]


ภาพมุมสูงโรงเรียนเทพศิรินทร์ในอดีต
ในปี พ.ศ. 2419 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุครบเบญจเพส จึงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระอารามเพื่อทรงอุทิศพระราชกุศลถวายสนองพระเดชพระคุณแด่องค์พระราชชนนี คือ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น โรงเรียน เทพศิรินทร์ ได้รับการสถาปนาจาก องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ด้วยพระราชปรารภที่จะทำนุบำรุงการศึกษาเล่าเรียนให้เจริญแพร่หลายขึ้นโดยรวด เร็วจึงมีพระบรมราชโองการให้จัดการศึกษาสำหรับราษฎรขึ้น โดยพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ได้จัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมบาลี ขึ้นภายใน วัดเทพศิรินทราวาส โดย ในช่วงแรกของการจัดตั้งโรงเรียนนั้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้อาศัยศาลาการเปรียญภายในวัดเทพศิรินทราวาสเป็นที่ทำ การเรียนการสอน

ตึกแม้นนฤมิตร กับตึกโชฎึกเลาหะเศรษฐี ในอดีตก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
ครั้นถึง พ.ศ. 2438 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้ทรงดำริที่จะสร้างตึกเรียนสำหรับวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น เพื่ออุทิศพระกุศล สนองพระเดชพระคุณแห่งองค์ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระชนนี และเพื่ออุทิศพระกุศลแก่ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ชายาของพระองค์ ตึกเรียนหลังแรกนี้ได้รับการออกแบบให้มีศิลปะเป็นแบบโกธิคซึ่งถือว่าเป็นอาคารศิลปะโกธิคยุคแรกและมีที่เดียวในประเทศไทยโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ และในการนี้ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้างตึกอาคารเรียนหลังที่สองขึ้นที่ด้านข้างของตึกเรียนหลังแรกอีกด้วย เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา ตึกนี้มีนามว่า ตึกโชฏึกเลาหเศรษฐี เป็นตึกเรียนวิทยาศาสตร์ และถือว่าทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น

ตึกแม้นศึกษาสถาน โรงเรียนเทพศิรินทร์
ปี พ.ศ. 2445 ตึกเรียนหลังแรกของโรงเรียนได้สร้างเสร็จและได้ทำพิธีเปิดการเรียนการสอนใน วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2445 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามตึกเรียนหลังนี้ว่า ตึกแม้นนฤมิตร์ และ ได้พระราชทานนามโรงเรียนว่า "เทพศิรินทร์" อีกทั้งยังมีพระราชดำริให้ย้ายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มายังตึกแม้นนฤมิตร์อีกด้วย เพื่อรอการก่อสร้างตึกอาคารเรียนที่โรงเรียนนั้น
ตึกเรียนหลังที่สามของโรงเรียนเทพศิรินทร์นั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2453 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานทรัพย์ซึ่งเป็นมรดกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี ให้กระทรวงศึกษาธิการทำการจัดสร้างตึกขึ้นด้านตรงกันข้ามของตึกแม้นนฤมิตร โดยตึกเรียนหลังนี้ยังคงศิลปะโกธิค ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโรงเรียนเทพศิรินทร์ อาคารเรียนหลังนี้สร้างเสร็จในปีถัดมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระราชทานนามว่า เยาวมาลย์อุทิศ สำหรับเครื่องครุภัณฑ์ต่างๆในอาคารนั้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงเป็นผู้ติดต่อให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตตินารี ได้ทรงร่วมกันบริจาค
ปี พ.ศ. 2474 โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้เปิดใช้อาคารเรียนอีกหลังหนึ่งคือ ตึกปิยราชบพิตรปดิวรัดา ตึกนี้เกิดขึ้นจากที่พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ได้ทรงให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศพระกุศลถวาย แด่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระมารดาของ พระองค์ ตึกเรียนอยู่ติดกันกับตึกเยาวมาลย์อุทิศ โดยตึกหลังนี้ก็ยังคงไว้ซึ่งศิลปะโกธิค

ตึกแม้นศึกษาสถาน และตึกภาณุรังษี(100 ปีเทพศิรินทร์)
ใน ปี พ.ศ. 2475 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ทรงเข้ารับการศึกษา หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี พระองค์เจ้าอานันทมหิดลก็ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระปรมาภิไธยว่าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงมีความผูกพันกับ โรงเรียนเทพศิรินทร์มาโดยตลอด มีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ตลอดจนมวลหมู่ลูกแม่รำเพยทุกคน

ตึกโชฎึกเลาหะเศรษฐี ตึกเรียนหลังที่สองของโรงเรียนเทพศิรินทร์

ตึกเยาวมาลย์อุทิศ-ปิยราชบพิตรปดิวรัดา และตึกเทิดพระเกียรติฯ
สงครามโลกครั้งที่สองได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดลงมาในพระนคร กระทรวงศึกษาธิการจึงสั่งปิดโรงเรียนทั่วพระนคร ด้วยเหตุที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟกรุงเทพนั้น เป็นเหตุให้โรงเรียนไม่สามารถหนีจากหายนะของสงครามนี้ได้ โดยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ตึกแม้นนฤมิตร์ และ ตึกโชฎึกเลาหเศรษฐี ตึกเรียนสองหลังแรกของโรงเรียนได้รับภัยทางอากาศจากการทิ้งระเบิดทำให้ไม่ สามารถใช้ทำการเรียนการสอนได้อีกตลอดทั้งอาคารเรียนอีกหลายๆหลังก็ได้รับ ความเสียหายพอสมควร จากการที่แหล่งรวมจิตใจของชาวเทพศิรินทร์ได้ถูกภัยสงคราม ทางกระทรวงศึกษาธิการ วัดเทพศิรินทราวาส ตลอดถึงสมาคมนักเรียนเก่าฯ ได้ร่วมกันสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นมาทดแทนโดยคงศิลปะโกธิคอยู่เช่นเดิม อาคารหลังใหม่นี้ได้รับการขนานนามว่า ตึกแม้นศึกษาสถาน
โรงเรียน เทพศิรินทร์ ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการขยายห้องเรียนขึ้น จนในปี พ.ศ. 2513 ทางโรงเรียนได้ร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าฯ ขออนุญาตทางวัดเทพศิรินทราวาส ใช้อาคารของทางวัดหลังหนึ่งเพื่อเป็นที่ทำการเรียนการสอนอาคารนั้นมีชื่อว่า ตึกนิภานภดล โดยอาคารนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตตินารี ได้สร้างขึ้นถวายแก่วัดเทพศิรินทราวาส ขณะเมื่อพระชันษา 28 ปี เสมอด้วยพระอัยยิกา สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี ในปี พ.ศ. 2467 เพื่อเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม สำหรับพระภิกษุสามเณร

แต่ ด้วยการพัฒนาโรงเรียนไปอย่างรวดเร็วมาก ทำให้จำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอ จึงทำให้ต้องมีการสร้างตึกเรียนขึ้นมาใหม่ ทำให้ทางโรงเรียนต้องมีการรื้อถอนตึกเรียนเดิม 2 หลังคือ ตึกเยาวมาลย์อุทิศ และ ตึกปิยราชบพิตรปดิวรัดา สำหรับตึกใหม่ที่สร้างขึ้นทดแทนเป็นอาคารเรียน 6 ชั้น และได้ใช้ชื่อว่า ตึกเยาวมาลย์อุทิศปิยราชบพิตรปดิวรัดา ตามตึกเรียนสองหลังเดิม ซึ่งในครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีเสด็จพระดำเนินมาในการวางศิลาฤกษ์ด้วย
โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้เติบโตขึ้นเป็นลำดับจำนวนนักเรียนมากขึ้นทุกปี จึงได้มีการสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมอีกคือ อาคารภาณุรังษี อาคารรัชมังคลาภิเษก 2531 และ อาคารเทิดพระเกียรติ

ตราประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์[แก้]

ภาพอาทิตย์อุทัยทอแสงบนพื้นน้ำทะเล หมายถึง “ภาณุรังษี” และ “วังบูรพาภิรมย์” โดย “ภาณุรังษี” นี้เป็นพระนามของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ทรงประทานตรานี้ให้แก่โรงเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2467 พระองค์มีพระคุณอเนกอนันต์แก่โรงเรียน อาทิทรงเป็นผู้ทูลขอให้ทรงสถาปนาโรงเรียนต่อองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2438 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการสถาปนาโรงเรียนแบบถาวรและทรงถือว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนในดูแลของพระองค์ด้วย
อักษรประดิษฐ์ “ม” หมายถึง “หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา” ชายาอันเป็นที่รักของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงหม่อมแม้น ว่าถ้าไม่มีหม่อนแม้น การกำเนิด ตึกแม้นนฤมิตร ก็คงไม่มี ดังนั้นโรงเรียนเทพศิรินทร์ก็คงไม่มี จึงเป็นความหมายที่ควรระลึกไว้

ดอกรำเพย สัญลักษณ์ของโรงเรียนเทพศิรินทร์
ช่อดอกรำเพย หมายถึง พระนามแห่งองค์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า “หม่อมเจ้าหญิงรำเพย ศิริวงศ์” พระบรมราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงสร้างพระอารามและโรงเรียนเพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระ บรมราชชนนี ทำเครื่องหมายดอกรำเพยไว้เพื่อให้คนรุ่นหลัง รู้ไว้ว่าพระนามเทพศิรินทร์นี้ได้มาจากพระองค์ท่าน เป็นพระนามมหามงคลยิ่งควรรักษาไว้ให้ดี
สีประจำโรงเรียน คือ “สีเขียวและสีเหลือง” เป็นสีประจำวันพฤหัสบดี ตามตำราพิชัยสงคราม (สวัสดิรักษา) ซึ่งวันพฤหัสบดีนั้นเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 4 อีกทั้งยังเป็นสีของใบและดอกของต้นรำเพย ซึ่งเป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี คือ “พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์”
ดอกรำเพย จึงถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุทธสุภาษิตประจำโรงเรียน “น สิยา โลกวฑฺฒโน” ความหมายคือ “ไม่ควรเป็นคนรกโลก” เป็นพุทธสุภาษิตซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสองค์ ที่ 5 ได้ประสาทให้แก่โรงเรียน และท่านอธิบายความหมายของพุทธสุภาษิตบทนี้ว่า “คนเราบางคน เกิดมารกโลก ทำนองเดียวกับติณชาติที่หาประโยชน์อะไรมิได้ ทำให้เสียเงินทองกำจัด และรกชัฏขวากหนาม บางอย่างเป็นศัตรูแก่โลกไม่เป็นประโยชน์ มนุษย์ที่ไม่มีเมตตากรุณา คอยแต่จะเบียดเบียยนผู้อื่น จัดว่าเป็นคนรกโลก อย่าเกิดมาเลยเสียดีกว่า สู้สัตว์บางชนิดก็ไม่ได้”

เพลงประจำโรงเรียน[แก้]


พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ผู้แต่งบทประพันธ์ "อโหกุมาร" ให้กับโรงเรียนเทพศิรินทร์
บทร้องอโหกุมาร เป็นเพลงประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์ เพลงนี้เป็นพระนิพนธ์ของพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในกวีชั้นยอดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระยาจรัลชวนะเพท อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเทพศิรินทร์ในสมัยนั้น เห็นว่าทางโรงเรียนมีงานรื่นเริงประจำปีเสมอ จึงควรจะมีบทเพลงประจำสักหนึ่งบท จึงทูลขอให้ทรงนิพนธ์ พระองค์ได้ทรงนิพนธ์แล้วเสร็จและประทานแก่โรงเรียนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2474 จากนั้น วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ทางโรงเรียนได้มีหนังสือแจ้งขออนุญาตไปยังกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อขอใช้บทพระนิพนธ์นี้เป็นบทร้องประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์ ต่อจากนั้นพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ทรงโปรดให้ หลวงประสานบรรณวิทย์เป็นผู้ฝึกร้องตามทำนองฝรั่ง จนร้องถูกต้องดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2475 ดังนั้นจึงนับเอาวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่บทร้องอโหกุมารถูกร้องเป็นวันแรก[ต้องการอ้างอิง]
บทร้องอโหกุมารทรงนิพนธ์ด้วยสยามวิเชียรฉันท์ 8 ซึ่งมีความไพเราะมีจังหวะเสียงขึ้นลงสลับกันไปมา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่แปลก โดยบทสยามวิเชียรฉันท์ 8 นี้ พูดได้ว่ามีเพลงอโหกุมารเพียงเพลงเดียว[ต้องการอ้างอิง] และเป็นเรื่องแปลกในการใช้ฉันท์มาใส่ทำนองร้องเป็นเพลงได้[ต้องการอ้างอิง] ชาวเทพศิรินทร์ทุกคนถือว่าบทร้องอโหกุมารมีความศักดิ์สิทธิ์ เมื่อใดที่ได้ยินจะยืนตรงแสดงความเคารพและร้องด้วยความภูมิใจในเกียรติยศและศักดิ์ศรี และภูมิใจเสมอว่าเพลงนี้ได้ชื่อว่าเป็นเพลงประจำสถาบันที่มีความไพเราะที่สุด[ต้องการอ้างอิง]
บทร้องประจำโรงเรียน
อโหกุมารสถานสิขาณ เทพศิรินทร์ระบิลระบือ
สำเนียงจำโนษอุโฆษก็คือดรุณสยามมิคร้ามวิชาฯ
สมัญญะเลิศจะเกิดไฉนจะเกิด ณ เมื่ออะเคื้อสิขา
จะเกิด ณ คราวอะคร้าววิชาวิปักษะขามสยามวิชัยฯ
วิถีสำรวย บ่ งวย บ่ งงวิถีสำเริง บ่ เหลิงหทัย
วิถีสำราญ บ่ ซานจะไปวิถีอบาย บ่ หมายจำนงฯ
วิชาวิบุลย์ดรุณจะเรียนประเกียรติ์จะเกิดประเสริฐประสงค์
ประเทศจะงามสยามจะยงจะสุดวิเศษก็เหตุเพราะเพียรฯ
อโหดรุณจะครุ่นสิขาอโหกุมารจะอ่านจะเขียน
วิชาจะเทียบจะเปรียบวิเชียรวิเชียรก็ชู บ่สู้วิชาฯ
วิชา ฤ แล้ง ณ แหล่งสยามหทัยะทัยจะไตรจะตรา
หทัยะทัยจะใฝ่วิชาวิชา ฤ แล้ง ณ แหล่งสยาม
ณ เทพศิรินทร์ ณ เทพศิรินทร์สถานสิขาสง่าพระนาม
สำนักกิฬาสง่าสนามณ เทพศิรินทร์ ณ เทพศิรินทร์
ชโย ชโย ชโย